วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หลักการเขียนหนังสือติดต่อราชการ

การเขียนหนังสือติดต่อราชการ
จำพวก งานสารบรรณ - หนังสือที่เป็นหลักฐาน และหนังสือราชการที่เป็นหลักฐาน
งานสารบรรณ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 คือ งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มต้นตั้งแต่จัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย

กระบวนการงานสารบรรณ
   การคิด การอ่าน ร่าง เขียน แต่ง พิมพ์ จด จำ ทำ สำเนา ส่ง สื่อข้อความ รับ บันทึก จดรายงานการประชุม สรุป ย่อเรื่อง เสนอ สั่งการ ตอบ ทำรหัส เก็บเข้าที่ ค้นหา ยืม และทำลาย

ประเภท ระเบียบ

ระเบียบที่ต้องถือปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
ระเบียบที่ต้องถือปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดน้อยกว่า

ระเบียบงานสารบรรณ มีประโยชน์
1.หลักและแนวทาง
2.สร้างมาตรฐานเดียวกัน
3.คล่องตังติดตามง่าย
4.ระบบดีมีประสิทธิภาพ
5.แสดงถึงความก้าวหน้าในงานเอกสาร

หนังสือราชการ มี 6 ชนิด ได้แก่ 
1.หนังสือภายนอก
2.หนังสือภายใน
3.หนังสือประทับตรา
4.หนังสือสั่งการ
5.หนังสือประชาสัมพันธ์
6.หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐาน ทางราชการ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หนังสือติดต่อราชการ
* หนังสือภายนอก

 หนังสือติดต่อราชการแบบเป็นพิธีระหว่างกระทรวง ทบวง กรม จังหวัด หรือบุคคลภายนอก

* หนังสือภายใน

 หนังสือติดต่อราชการแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก ใช้ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน

* หนังสือประทับตรา 

 บันทึก หนังสือติดต่อภายใน
-ใครลงนามก้ได้
-ไม่ใช้กระดาษบันทึกข้อความก้ได้
-เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้
-เขียนด้วยลายมือก็ได้
*** แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู้กับผู้บังคับบัญชาว่าจะมีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางใดเพื่อเหมาะสมกับองค์กรหรือหน่วยงานของท่าน






1 ความคิดเห็น: